Electronic Stability Program (ESP)
- ระบบเบรคป้องกันล้อล๊อค (ABS) และ ระบบเบรก Electronic Stability Program (ESP®) ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ก่อนเกิดขึ้น และทำให้การขับขี่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- ระบบ ABS และ ESP® เป็นระบบความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก
- ในปี 2551 60% ของรถยนต์ที่ผลิตใหม่ในประเทศไทยติดตั้งระบบ ABS แต่มีเพียง 4% ที่ติดตั้งระบบ ESP®
- บ๊อชยืนยันให้การสนับสนุนมาตรการความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทย
ระบบ ESP® ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่
การเพิ่มอัตราการใช้ระบบ ESP® ในยานยนต์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวางช่วยในการวิเคราะห์ผลกระทบในสถานการณ์อุบัติเหตุจริงในหลายประเทศ ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบเบรก ESP® ในประเทศญี่ปุ่น เยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ทุกประเทศยืนยันถึงประโยชน์ของระบบเบรก ESP® บนพื้นผิวการจราจรแบบต่าง ๆ โดยใช้ระบบวิเคราะห์หลาย ๆ แบบกับรถยนต์ต่างยี่ห้อ ต่างรุ่น ซึ่งรวมถึงรถยนต์และรถ SUV รุ่นต่าง ๆ ผลตามทดสอบแสดงให้เห็นว่า ระบบเบรก ESP® เป็นระบบเบรกที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่มีผู้ใช้ถนนอื่น ๆ ร่วมด้วย ในรถยนต์และรถ SUV จากการศึกษาวิจัย คาดว่าระบบ ESP® ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ระหว่าง 30% ถึง 50% ในรถยนต์และ 50% ถึง 70% ในรถ SUV
การวิเคราะห์ผลได้ผลเสียที่ทำโดยมหาวิทยาลัยแห่งโคโลญ (ประเทศเยอรมนี) ในปี 2550 ระบุว่าหากรถยนต์ทุกคันติดตั้งระบบเบรก ESP® จะสามารถป้องกันอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ร้ายแรงได้ถึง 4,000 รายและป้องกันอัตราการบาดเจ็บได้ถึง 100,000 รายในทวีปยุโรปเพียงแห่งเดียว ในประเทศสหรัฐอเมริกา The National Highway Traffic Safety Authority (NHTSA) คาดว่าหากรถยนต์ทุกคันติดตั้งระบบเบรก ESP® จะสามารถป้องกันการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ร้ายแรงได้ถึง 10,000 รายและการบาดเจ็บได้ 250,000 ราย
ระบบ ABS และ ESP® ได้รับการยอมรับทั่วโลก
ในปี 2551 อัตราการติดตั้งระบบ ABS ทั่วโลกอยู่ที่ 76% สำหรับประเทศไทย มีอัตราการติดตั้งระบบเบรก ABS ที่ 60% ในรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับประเทศจีนและเกาหลีใต้ อย่างไรก็ดี มีรถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ในประเทศไทยเพียง 4% ที่ติดตั้งระบบ ESP® ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขอัตราการติดตั้งระบบ ESP® ทั่วโลกที่ 33% อยู่มาก
ในทางตรงกันข้าม ในทุก ๆ วันนี้ มากกว่า 50% ของรถยนต์โดยสารที่ผลิตขึ้นใหม่และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็กในทวีปยุโรปและประเทศสหรัฐฯ ทั้งหมดติดตั้งระบบเบรก ESP® โดยผู้ผลิตในยุโรปเริ่มติดตั้งระบบ ESP® ให้กับยานยนต์ในกลางทศวรรษ 90 โดยในระยะเริ่มต้น ระบบ ESP® เป็นเพียงอุปกรณ์เสริมในยานยนต์หรูหรา ราคาแพง แต่ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีต่อมา ผู้ผลิตชั้นนำต่างเสนอระบบเบรก ESP ให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในยานยนต์ทุกชนิด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อัตราการติดตั้งระบบเบรก ESP® ได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอทั่วโลก นอกจากนี้ ตัวเลขตลาดโลกยังชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในการใช้มาตรฐานความปลอดภัยยานยนต์ที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะจากเปลี่ยนจากระบบ ABS เป็น ESP®
ในปัจจุบันระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเสถียรภาพการขับขี่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการเร่งความเร็วและการเข้าโค้ง ระบบ ESP จะช่วยลดความเสี่ยง ของการลื่นไถลและช่วยปรับปรุงเสถียรภาพการขับขี่ในทุกสภาพถนน
ระบบนี้จะทำงานในทุกช่วงความเร็ว
ระบบ ESP จะทำงานประสานร่วมกับระบบ ABS
หลักการทำงาน :
สมองควบคุมระบบ ESP จะรับสัญญาณข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตรวจวัดต่างๆ ที่มีความแม่นยำสูง สัญญาณเหล่านี้ตรวจวัด ได้จากแรงต้านต่างๆที่กระทำกับรถ เช่น อัตราการเอียงของรถ (yaw rate) แรงกระทำด้านข้าง แรงเบรก และการหมุนเลี้ยวพวงมาลัย ระบบ ESP จะนำสัญญาณที่ตรวจวัดได้จากการหมุนเลี้ยวพวงมาลัย และ ความเร็วของรถยนต์มาคำนวณการเปลี่ยนทิศทางของรถโดยเปรียบเทียบกับลักษณะ ของรถอย่างต่อเนื่อง ถ้ารถไม่สามารถทรงตัวให้อยู่ในเส้นทางได้ ยกตัวอย่างเช่น รถกำลัง เริ่มมีอาการลื่นไถล ระบบ ESP จะเข้ามาควบคุมโดยอัตโนมัติ ด้วยการสั่งให้มีการเบรกล้อที่กำลังลื่น ไถลนั้น การเบรกที่ล้อนั้นส่งผลให้รถกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง อาทิเช่น อาการท้ายปัด (Oversteering) ถ้ารถกำลังมีแนวโน้มว่าจะเกิดอาการท้ายปัด ระบบ ESP ก็จะเข้าควบคุมโดยการ สั่งให้มีการเบรกที่ล้อหน้าด้านที่อยู่นอกโค้ง และในทางกลับกัน อาการดื้อโค้ง (Understeering) ถ้ารถกำลังมี แนวโน้มว่าจะเกิดอาการดื้อโค้ง ระบบ ESP ก็จะเข้าควบคุมโดยสั่งให้มีการเบรกที่ล้อหลังด้านที่อยู่ในโค้ง
การตัดการทำงานของระบบ ESP :
ระบบ ESP จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ รวมไปถึงการตรวจสอบตัวเองทุกครั้ง
ท่านสามารถตัดการทำงานของระบบ ESP ได้ด้วยการกดปุ่มสวิตช์ ESP ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณคอลโซลหน้าปัด
หมายเหตุ : ปกติแล้วควรจะเปิดสวิตช์ ESP ไว้ตลอดเวลา
ข้อสังเกตุไฟเตือนระบบ ESP :
ในระหว่างที่ระบบ ESP กำลังทำงานไฟเตือน ESP จะกระพริบเป็นช่วงๆ ให้เห็น (ควบคุมเสถียรภาพการขับขี่)
เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจ ON ไฟเตือน ESP จะติดโชว์เป็นเวลา 2-3 วินาที และดับไปเอง
ไฟเตือน ESP จะติดโชว์ตลอดถ้าระบบทำงานบกพร่อง
ไฟเตือน ESP จะติดโชว์ตลอดถ้าระบบ ABS ทำงานผิดปกติ
ข้อสำคัญ :
ในสภาพการณ์ขับขี่ปกติตามกฏจราจรทั่วไปโดยเฉพาะการใช้ความเร็วในขณะเข้าโค้ง แม้ระบบ ESP จะช่วยควบคุม และทำให้รถมีเสถียรภาพ
แต่พึงระลึกถึงข้อเท็จจริงด้วยว่า หากการใช้ความเร็ว ที่สูงมากในขณะเข้าโค้งโดยไม่มีการชะลอ
และหรือ การใช้ความเร็วสูงเลี้ยวโค้ง หักศอก ระบบ ESP ก็ไม่สามารถควบคุมในสภาพการณ์ดังกล่าวซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ครับ
เรามาดูวีดีโอ การทำงานของ ESP หรือระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว กันดีกว่าครับ
และหรือ การใช้ความเร็วสูงเลี้ยวโค้ง หักศอก ระบบ ESP ก็ไม่สามารถควบคุมในสภาพการณ์ดังกล่าวซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ครับ
เรามาดูวีดีโอ การทำงานของ ESP หรือระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว กันดีกว่าครับ