ระบบ ABS

ABS (ANTILOCK BRAKING SYSTEM) ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก

!!!  Ford Motor ได้นำมาใช้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นรายแรก !!!

ระบบเบรก  ABS  ไม่ใช่วิทยาการใหม่ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน เพราะระบบนี้มีมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ช่วงหลายปีนี้มันเริ่มกลายเป็นมาตรฐานใหม่ทางด้านความปลอดภัย ซึ่งสามารถช่วยชีวิตคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ


ที่จริงต้องขอบคุณเทคโนโลยีทางด้านการบินที่คิดค้นระบบเบรก ABS  ขึ้น มา โดยเริ่มพัฒนาแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปี 1929 ในยุคที่ดรัมเบรกเฟื่องฟู และค่อยเพิ่มความสามารถ เพื่อให้การหยุดความเร็วเครื่องบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น จวบจน ปี 1960 ระบบเบรก  ABS  ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหรรมยานยนต์ โดยเริ่มจากในสนามแข่งก่อนที่จะแพร่สารถยนต์สำหรับคนทั่วไป โดยค่าย Ford  ซึ่งแนะนำในรถ  Ford Zodiac
แม้ค่ายวงรีสีน้ำเงินจะเป็นผู้นำ แต่ในยุคปัจจุบัน ระบบเบรก  ABS  กลับกำเนิดโดยค่าย Chrysler แนะนำภายใต้ชื่อ Sure brake  ก่อนที่ยักษ์ใหญ่ในอเมริกา General Motor  จะพัฒนาตามในปี 1971 ซึ่งปีเดียวกับที่ Nissan  เริ่มมีระบบที่คล้ายกันออกมา ใน Nissan President  และเป็นรถคันแรกจากฝั่งญี่ปุ่นที่มีระบบนี้ ส่วนในฝั่งมอเตอร์ไซค์ค่าย BMW  เป็นผู้เปิดเกม  ABS เริ่มแนะนำครั้งแรกในปี  1988

ระบบเบรค ABS หรือระบบป้องกันการเบรคจนล้อล็อกตาย ซึ่งเกิดมาจากการแก้ไขปัญหาการเบรครถแล้วเกิดการลื่นไถล ระบบ ABS จะประกอบด้วยฟันเฟืองวงแหวนที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุน และจะมีเซนเซอร์ติดตั้งอยู่ใกล้กับฟันเฟือง เมื่อล้อรถเริ่มหมุนฟันเฟืองจะหมุนตาม แล้วเซนเซอร์ก็จะทำการตรวจจับอัตราการหมุนของฟันเฟือง แล้วรายงานอัตราความเร็วดังกล่าว ไปให้ระบบ ABS ซึ่งโดยปกติทั่วไปทุกล้อจะมีเซนเซอร์เพื่อตรวจสอบความเร็วติดอยู่ทุกล้อ โดย ABS จะสั่งการผ่านเซนเซอร์ตัวนี้ เพื่อให้ชุดปั้มเบรคทำงาน โดยจะมีการจับและปล่อยระหว่างจานเบรคกับผ้าเบรคที่ 16-50 ครั้ง/วินาที เพราะการที่จับกันเร็วอย่างนี้จะทำให้ผู้ขับสามารถควบคุมทิศทางของรถได้ในขณะที่เหยียบเบรคกระทันหันเพื่อหลบสิ่งกีดขวาง หรืออุบัติเหตุ หรือเบรคในระยะที่สั้นกว่าปกติ



ประเด็นหลักของระบบ ABS  ก็เหมือนชื่อมัน คือ ระบบจะไม่ห้ามล้อได้ โดยที่ล้อของรถคุณนั้นไม่ล๊อคตาย ทั้งหมดนั้นเป็นไปได้ด้วยระบบเบรกที่สั่งการให้ชุดปั้มเบรกทำงานอย่างรวดเร็วในการจับแล้วปล่อยระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก ซึ่งใน 1  วินาที ชุดปั้มจะจับและปล่อยจำนวน 15 ครั้ง ทำให้นอกจากหยุดสั้นลงแล้ว ยังสามารถควบคุมทิศทางรถเพื่อหลีกเลี่ยงการชนหรือลดความเสียหายที่เกิดจากการชนได้ไม่มากก็น้อย
ด้วยระบบที่มีประสิทธิภาพทางด้านวิศวกรรม ทำให้ มันจึงกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ แต่ก็ยังมีน้อยคันนักที่รู้วิธีการใช้งานระบบเบรก ABS  อย่างถูกต้อง
ประการแรกที่สำคัญเลย คือ ระบบเบรก ABS  ทำงานผ่านชุดแป้นเบรกเพียงอย่างเดียว ไม่มีปุ่ม สวิทช์ หรือ อย่างอื่นอย่างใดเป็นตัวบ่งชี้หรือใช้ในการทำงานของระบบ  
เช่นเดียวกันระบบเบรก  ABS จะทำงานก็ต่อเมื่อ ผู้ขับขี่ใช้น้ำหนักเบรกที่มากกกว่าปกติ  ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่คุณขับรถที่มีระบบเบรก ABS  เข้าระบบเบรกป้องกันล้อล็อคตายไม่ได้ทำงานทุกครั้งที่คุณยัดแป้นเบรกเพื่อหยุด แต่เมื่อคุณใช้น้ำหนักเบรกแรงกว่าปกติ ซึ่งโดยส่วนมาจะอยู่ประมาณ  80%  ของน้ำหนักเบรก ระบบจะเริ่มทำงานด้วยตัวเอง
ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ขับเกิดอาการตกใจได้ แต่ห้ามถอนน้ำหนักจากเบรค ให้ผู้ขับเหยียบเบรคค้างไว้แล้วหักหลบจากสิ่งกีดขวาง แล้วจึงค่อยถอนแรงเหยียบจากเบรค อีกข้อที่ห้ามทำคือการย้ำเบรค เพราะจะไปทำให้แรงดันน้ำมันจะลดลง จึงทำให้ระบบ ABS ไม่ทำงาน แต่จากที่มีการพัฒนาระบบABS มากขึ้น ทุกวันนี้จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญส่วนหนึ่งในรถยนต์


ข้อห้ามในระหว่างการใช้เบรก ABS

1. ห้ามตกใจ หลายคนตกใจเมื่อได้ยินเสียง ABS ทำงาน เพราะการคุมแรงดันน้ำมันของระบบ ABS
นั้นจะทำให้เกิดเสียที่ดังสู่ห้องโดยสาร "ครืดๆ" เช่นเดียวกับแรงสั่นสะเทือนที่แป้นเบรค ซึ่งทำให้คนทั่วไปหลายคนตกใจ และนำไปสู่อุบัติเหตุได้


2. ห้ามย้ำเบรก หลักการทำงาน ABS จำเป็นต้องใช้การตรวจแรงดันเบรก ซึ่งการทำงานเบรกนั้นเมื่อเราเหยียบแป้นเบรกก็จะไปเพิ่มดันน้ำมันในปั้มเบรค ซึ่งเมื่อเราถอนน้ำหนัก แรงดันนั้นก็จะลดลง ผลคือ ABS ไม่ทำงาน ฉะนั้นอย่าย้ำเบรคครับ

3. อย่าถอนน้ำหนักเบรก เมื่อเหยียบแป้นเบรกและ ABS ทำงานแล้ว จำไว้เสมอครับว่า อย่าถอนน้ำหนักออกจากแป้นเบรก ให้เหยียบค้างไว้ แล้วให้สมาธิกับการหักพวงมาลัย ให้ผลสถานการณ์เสี่ยง และเมื่อพ้นแล้วถึงค่อยถอนน้ำหนักเบรกได้

4. ทางลูกรัง ABS อาจอันตราย นี่เป็นเรื่องที่หลายคนไม่ค่อยทราบ แต่บนถนนบางแบบ ABS อาจเป็นต้นเหตุทำให้อันตราย โดยเฉพาะทางลูกรังหรือโคลนนั้น การเบรคโดยใช้ระบบ ABS อาจทำให้มีระยะทางเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอัตราการเกาะถนนที่น้อยกว่าในพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งการใช้เบรค ABS จะทำให้รถลื่น ในขณะที่การใช้เบรคที่ล้อล็อคปกติ จะทำให้ล้อกดลงไปเพื่อเพิ่มอัตราการเกาะมากกว่า บางครั้งอาจขุดพื้นผิวเพื่อสร้างระยะหยุดที่สั้นกว่า


สรุปคำแนะนำในการเบรคฉุกเฉินสำหรับรถที่มีABSให้ได้ระยะเบรคสั้นที่สุด 

1. กระแทกแป้นเบรคให้สุดแป้นให้เร็วที่สุด วิธืนี้ปฏิบัติค่อนข้างง่ายเนื่องจากเป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับปฎิกิริยาตอบสนองปกติของผู้ขับขี่ทั่วไปกรณีฉุกเฉินอยู่แล้ว 


2. อย่าตกใจเมื่อแป้นเบรคสั่นและมีเสียงดังครืดๆขณะABSทำงานและคงแรงกดแป้นเบรคให้สุดแป้นไว้ตลอดการเบรค 


3. สามารถเลี้ยวเพื่อหลบหลีกอุบัติเหตุได้ในขณะเบรค โดยประสิทธิภาพการเลี้ยวจะลดลงไปบ้างเนื่องจากมีการลื่นไถลของยาง15-25% 


4. ระวังอันตรายที่อาจมาจากด้านหลังรถขณะเบรคด้วย อาจจำเป็นต้องผ่อนแรงเบรคลงเมื่อหลีกเลี่ยงอันตรายได้แล้วหรือเลี้ยวหลบเพื่อลดอันตรายจากด้านหลัง เพราะรถข้างหลังอาจชลอความเร็วได้ไม่เท่าเรา 


5. วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในทุกๆสภาวะสำหรับรถที่ใช้ระบบABSไม่ว่าจะเป็นพื้นถนนต่างๆ,แห้ง/เปียก,สภาพถนนในแต่ละล้อแตกต่างกัน,ทางตรง/ทางโค้ง รวมถึงกรณีพื้นถนนที่ไม่อัดแน่นเช่นถนนกรวด,ทรายดัวย แต่กรณีนี้หากรถสามารถเลือกปิดการทำงานของระบบABSได้ก็จะสามารถเบรคแบบให้ล้อล็อคเพื่อให้ได้ระยะเบรคสั้นกว่าเมื่อเปิดระบบABSได้ แต่ก็มีข้อเสียเรื่องการสูญเสียความสามารถในการควบคุมทิศทาง และสำหรับสภาพถนนที่แตกต่างกันเช่นแห้ง/เปียกต้องไม่ลืมว่าระยะเบรคสั้นที่สุดอาจต่างกันได้กว่าเท่าตัวและปรับเพิ่มความระมัดระวังตามสภาวะที่แตกต่าง 


6. สังเกตุว่าไฟเตือนระบบABSที่หน้าปัทม์ติดเมื่อบิดกุญแจในตำแหน่งติดเครื่องก่อนตำแหน่งสตาร์ทและดับภายในประมาณ3วินาทีซึ่งเป็นการแสดงว่าระบบABSทำงานปกติ หากไฟเตือนไม่ติดเลยหรือติดค้างหรือติดขึ้นในขณะขับขี่แสดงว่าระบบABSผิดปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่าระบบเบรคเสียไปด้วยเพียงแต่ต้องเปลี่ยนวิธีเบรคเป็นแบบไม่มีABS(ควบคุมแรงเบรคให้อยู่ใกล้จุดที่ล้อเริ่มล็อคที่สุด) 


7. ควรฝึกเทคนิคการเบรคแบบนี้ให้คุ้นเคยกับวิธีการเบรคและการทำงานของABSรวมถึงการเลี้ยวขณะเบรคบ้างจะได้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อถึงเวลาฉุกเฉินจริง แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีรถอื่นรอบข้างโดยเฉพาะข้างหลัง ใช้ความเร็ว40-50km/hก็เพียงพอสำหรับการฝึก 

จะเห็นว่าจริงๆแล้ววิธีปฏิบัติไม่ยากเลย เพียงแต่ข้อมูลข้อเท็จจริงนี้ที่ยังไม่เป็นที่รู้/เข้าใจอย่างกระจ่างในหมู่ผู้ขับขี่ในวงกว้าง หวังว่าทุกท่านที่ได้รู้เทคนิคนื้แล้วเมื่อถึงคราวที่เหตุฉุกเฉินมาถึงจะสามารถนำไปใช้เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลของอุบัติเหตุลงได้ ถึงอย่างไรก็ตามขอให้ตระหนักว่าเทคนิคนี้เป็นมาตรการเชิงแก้ไขเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นแล้วเท่านั้น มาตรการหลักในการป้องกันอุบัติเหตุคือการหลีกเลี่ยง/ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างหากโดยการขับขี่อย่างปลอดภัยและระแวดระวัง/คาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากรอบด้านตลอดเวลาครับ